วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ข้อสอบ

ข้อสอบ ม.5
เรื่อง ข้อมูลมีคุณค่า และการเก็บรวบรวมและสำรวจข้อมูล

1.Big Data คืออะไร 
   ก.เป็นข้อมูลเฉพาะกลุ่ม 
   ข.เป็นข้อมูลที่มีความหลากหลายประเภท
   ค.เป็นข้อมูลที่ีมีการหลั่งไหลตลอดเวลา
   ง.ถูกทั้งข,ค

2.ข้อใดคือประโยชน์ของ Big Data
   ก.ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้า 
   ข.ใช้เลียนแบบพฤติกรรมของมนุษย์
   ค.สามารถใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลได้
   ง.ใช้ถ่ายโอนร่วมกันผ่านทางเครือข่าย

3.กระบวนการวิทยาการข้อมูลมีกี่ขั้นตอน
   ก.3 ขั้นตอน                      ข.4 ขั้นตอน
   ค.5 ขั้นตอน                      ง.6 ขั้นตอน

4.ภานุกำลังค้นหาข้อมูลความนิยมเกี่ยวกับพืช เพื่อจะนำมาทำรายงาน การกระทำของภานุเป็นขั้นตอนใดของวิทยาการข้อมูล
   ก.การวิเคราะห์ข้อมูล       ข.การรวบรวมข้อมูล
   ค.การสื่อสารข้อมูล          ง.การตั้งคำถาม

5.ข้อใดกล่าวถูกต้องในการรวบรวมข้อมูล
   ก.ควรพิจารณาว่าควรเก็บข้อมูลมากเท่าใดเสมอ
   ข.ควรตรวจสอบว่าต้องทำความสะอาดข้อมูลเสมอ
   ค.ไม่ควรเผยแพร่ข้อมูลที่เก็บมาทั้งหมด 
   ง.ไม่ควรพิจารณาว่าเก็บข้อมูลที่ใคร

6.ไฟล์นามสกุลใด ที่สามารถดาวน์โหลดได้ แต่นำข้อมูลไปใช้ต่อได้ยาก
   ก.pdf      ข.xls      ค.xlsx      ง.odp

7.ข้อมูลใดไม่ใช่ข้อมูลส่วนบุคคล
   ก.การศึกษา                        ข.ฐานะการเงิน
   ค.รายได้ของประชากร        ง.ประวัติสุขภาพ

8.เกณฑ์การพิจารณาความเหมาะสมของข้อมูลข้อใดต่อไปนี้ ควรนำมาพิจารณามาเป็นลำดับแรก
   ก.ความทันสมัยของข้อมูล             ข.ความถูกต้องแม่นยำ
   ค.ความสอดคล้องกับการใช้งาน    ง.ความน่าเชื่อถือของข้อมูล

9.การประมวลผลของข้อมูลใช้โปรแกรมภาษาใด
   ก.ภาษาซี      ข.ภาษาจาวา      ค.ภาษาเบสิก      ง.ภาษาไพทอน

10.ไอโอที (IOT) คืออะไร
   ก.เป็นข้อมูลที่มีความหลากหลายประเภท
   ข.เป็นเครือข่ายของวัตถุ อุปกรณ์ พาหนะ และสิ่งของอื่นๆที่มีการฝังวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ซอฟต์แวร์
   ค.เป็นคุณลักษณะเฉพาะที่ระบุคุณสมบัติของวัตถุ
   ง.เป็นข้อมูลเฉพาะตัวของบุคคล

วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2562

การคิดเชิงออกแบบ (design thinking) สำหรับวิทยาการข้อมูล

        การนำข้อมูลมาใช้เพื่อสื่อสารถึงแม้จะทำให้เข้าใจปัญหาหรือสถานการณ์มากยิ่งขึ้น แต่ถ้าไม่เข้าใจความต้องการของผู้ใช้ ก็ทำให้การนำเสนอข้อมูลผลลัพธ์ไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากผู้ใช้ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่นำเสนอ เช่น ข้อมูลที่นำเสนอมีปริมาณมากหรือละเอียดเกินความต้องการ ข้อบกพร่องนี้อาจทำให้การพัฒนาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์นั้นไม่สามารถเข้าถึงความต้องการของผู้ใช้
       ตัวอย่างเช่น บริษัทสตาร์ทต้องการพัฒนาอแปพลิเคชันสำหรับนักกีฬาโดยมีการติดตามข้อมูลการนอนหลับหรือข้อมูลการทำงานของหัวใจ ได้แก่ อัตราการเต้นหัวใจขณะหลับ และอัตราการแปรผันของหัวใจแต่พบว่านักกีฬาไม่สามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้ตัดสินใจได้ จากการสอบถามของโค้ชและนักกีฬา ที่ใช้แอปพลิเคชันนี้ สรุปว่าการแสดงข้อมูลไม่ใช้ปัญหา แต่แค่ไม่ตั้งกับความต้องการ

ยุคของข้อมูลและสารสนเทศ

บทที่ 1 ข้อมูลมีคุณค่า

ยุคของข้อมูลและสารสนเทศ

      ในยุคของข้อมูลและสารสนเทศ ข้อมูลเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมาก และใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ มีการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล (digitization) และมีการพัฒนาการของการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลและสารสนเทศได้ทุกที่ทุกเวลา ในปัจจุบันเรายังเป็นผู้ร่วมสร้างข้อมูลดิจิทัลอีกด้วย เช่น การอัปโหลดรูปภาพ การส่งต่อข้อความโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ซึ่งผู้ใช้รายอื่นสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ จัดได้ว่าข้อมูลนี้เป็นข้อมูลสินทรัพย์ที่มีความสำคัญ แต่ถ้าไม่ได้ถูกนำมาประมวลผลก็จะไม่ได้เกิดคุณค่าใดๆ
      ในบริษัทต่างๆได้มีการนำข้อมุลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ทำให้เกิดมูลค่ามหาศาล เช่น ขายสินค้าออนไลน์ บริษัทที่ให้บริการจองโรงแรมที่พัก และบริการสื่อสังคม (social media) 

กระบวนการวิทยาการข้อมูล

   การเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการด้วยข้อมูลนั้น นอกจากจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการแล้ว ยังต้องเข้าใจกิจกรรมต่างๆที่้เกี่ยวกับการจัดหาและประมวลผลข้อมูลอีกด้วย
เนื่องจากกิจกรรมที่ต้องทำค่อนข้างหลากหลาย เพื่อไม่ให้สับสนหรือพลาดประเด็นใดไป สามารถดำเนินการตามกระบวนการของวิทยาการข้อมูลที่ระบุขั้นตอนสำคัญต่าง ๆ ที่ ประกอบด้วย
   ขั้นตอนที่่ 1 การตั้งคำถาม
   -ตั้งคำถามที่ตนเองสนใจ
   ขั้นตอนที่ 2 การเก็บรวบรวมข้อมูล
   -ต้องคำนึงถึงว่าจะเก็บข้อมูลเรื่องอะไร จากที่ไหน จำนวนเท่าใด และความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จะต้องทำการตรวจสอบ ขจัดข้อมูลที่ผิด หรือข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ เพื่อให้ได้ข้อมูลนำเข้าที่ดี ไปสู่ผลลัพธ์ที่ดี
   ขั้นตอนที่ 3 การสำรวจข้อมูล
   -ต้องรวบรวมข้อมูล แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมมาพล็อต ทำให้เป็นภาพ หรือแผนภูมิ
   ขั้นตอนที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูล
   -เพื่ออธิบายความหมายท ความสัมพันธ์ของข้อมูล และทำนายเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
   ขั้นตอนที่ 5 การสื่อสารและการทำผลลัพธ์ให้เป็นภาพ
   -การถ่ายทอดเป็นเรื่องราวหรือเป็นภาพให้ผู้อื่นเข้าใจว่าเราได้เรียนรู้อะไรจากข้อมูล

วิทยาการข้อมูล (data science)

         ประเทศสหรัฐอเมริกาได้รายงานข้อมูลประสบปัญหาการขาดแคลนผู้ที่มีทักษะการวิเคราะหืเชิงลึก และการจัดการข้อมูลจำนวนมหาศาส เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความสำคัญ ซึ่งการทำงานในลักษณะนี้ จำเป็นต้องอาศัยความรู้และทักษะที่มีการผสมผสานเข้าด้วยกันที่เรียกว่า"วิทยาการข้อมูล"เป็นกระบวนการ วิธีการ หรือเทคนิค เพื่อให้ได้ความรู้ความเข้าใจ
         ตัวอย่างเช่น บางภูมิภาคของประเทศมักพบปัญหาฝุ่นควันเป็นระยะๆ ซึ่งเมื่อนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเข้ามาประยุกต์ใช้ จะทำให้เราสามารถเก็บข้อมูลปริมารฝุ่นในแต่ละช่วงเวลาได้อย่างต่อเนื่อง ปริมาณฝุ่นขนาด PM2.5 (คือฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมโครเมตร) มีค่าเกินมาตรฐาน  คือมากกว่า 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในบางช่วงเวลาเช้าที่มีการจราจรหนาแน่น ค่าที่วัดได้สูงเกินกว่า 100 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร 
         ประโยชน์จากวิทยาการข้อมูลได้หลายแบบ ทั้งการป้องกันตนเองจากปัญหาสุขภาพที่เกิดจากฝุ่นควัน นอกจากนี้ ถ้ามีการเก็บข้อมูลลักษณะแบบนี้อย่างต่อเนื่องในหลายที่ จะเป็นข้อมูลแสดงปรากฏการณ์ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาวิธีแก้ไขปัญหาฝุ่นควันได้อย่างเป็นระบบต่อไป